รอยต่อหลังคาทำอย่างไรไม่รั่ว

รอยต่อหลังคาเหล็ก…ทำอย่างไรไม่ให้รั่ว

 ปีกนก (Flashing) เป็นรายละเอียดพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม ที่ช่วยในเรื่องป้องกันคราบรั่วซึมระหว่างรอยต่อวัสดุต่าง ๆ หรือรอยต่อระหว่างหลังคาโพลีคาร์บอเนต เหล็กกับตัวอาคารได้ดี

ปีกนก มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กที่นำมาครอบทับบริเวณรอยต่อระหว่างวัสดุไว้ ซึ่งจะเก็บปลายของปีกนกด้วยการยิงซิลีโคลนหรือการซ้อนทับของวัสดุแทนการยิงน็อตหรือตะปู เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรั่วซึมที่อาจเกิดขึ้นอีกตามรูเล็ก ๆ นี้

การนำไปใช้มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้กับจุดใด  ผมได้ออกแบบรายละเอียดปีกนกสำหรับนำไปใช้บริเวณรอยต่อระหว่างโครงหลังคาเหล็กกับผนังบ้านที่เป็นการก่ออิฐฉาบปูน ซึ่งมีรายละเอียดตามภาพด้านล่างนี้ครับ

การต่อหลังคโพลีคาร์บอเนต

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการป้องกันการรั่วซึมคือ องศาความลาดชันของหลังคา เพราะหากความลาดชันน้อยเกินไปจะทำให้การระบายน้ำลงรางน้ำไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเหตุให้น้ำยังคงซึมกลับเข้ามาในหลังคาได้ โดยปรกติสำหรับหลังคาโพลีคาร์บอเนต เรามักจะใช้ความลาดชัน ประมาณ 2-6 องศา ขึ้นอยู่กับชนิดและยี่ห้อของหลังคาโพลีคาร์บอเนต นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบข้อมูลความลาดชันที่เหมาะสมได้จากรายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ติดมากับสินค้าหรือในเว็บไซต์ของผู้ผลิต หมวดรายละเอียดสินค้า (Product Specification) ได้ครับ

Views: 219

คราบขี้เกลือ บนผนัง

คราบขี้เกลือบนผนังหิน การชำระล้างที่ต้องทำ อย่างไร

สวนในบ้านมักได้รับความนิยมในการปูผนังด้วยหิน ด้านหลังประตูเหล็ก ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป คราบขี้เกลือเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่างสารผสมตามธรรมชาติที่อยู่ในปูน คือ แคลเซียมออกไซด์ ซึ่งจะละลายตัวเมื่อสัมผัสน้ำและความชื้นที่รั่วซึมเข้ามาตามรอยต่อหินปูได้ไม่ดีพอ จนแปรสภาพเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในอากาศจะกลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตไหลออกมากับน้ำเป็นคราบตะกรันสีขาว การป้องกันคราบขี้เกลือให้ได้ผลจึงต้องไม่ให้ความชื้นและน้ำซึมเข้าไปภายใน

ซึ่งผมแนะนำได้ 3 วิธีให้เลือก ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความชอบของคุณครับ

1. ใช้น้ำยากันซึมร่วมกับน้ำยาประสานคอนกรีต: ให้ทาหรือจุ่มหินที่ใช้ปูในอ่างน้ำยากันซึมให้ทั่วทั้งแผ่น แล้นำไปตากให้แห้งสนิท ทาน้ำยาประสานคอนกรีตด้านหลังหรือผสมน้ำยาประสานคอนกรีตลงในปูนทรายที่ใช้ และต้องหมั่นเช็คทำความสะอาดน้ำปูนที่ล้นออกมา เพื่อไม่ให้เกิดคราบเปื้อนในภายหลัง ทิ้งไว้ในคอนกรีตแข็งตัวแล้วจึงใช้ปูนยาแนวตามปรกติ

2. ใช้ปูนกาวแทนปูนทราย: ปูนกาวผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ผสมทรายละเอียดคัดพิเศษ

และเคมีต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มการยึดเกาะให้หิน ทำให้ความชื้นและน้ำซึมเข้าไปยากขึ้น ข้อควรระวังคือ ควรใช้ช่างที่มีประสบการณ์และฝีมือ เนื่องจากการทำงานจะยากกว่า แต่ผลงานสุดท้ายออกมาเรียบร้อยกว่า

3. ผนังหินระบบแห้ง (DRY PROCESS): วิธีนี้จะใช้ได้เฉพาะผนังเท่านั้น โดยเราจะใช้เพลทเหล็ก (ชุบสังกะสี) ยึดหินเอาไว้กับผนังโครงสร้างหรือโครงเหล็กแทนการติดลงไปบนผนังปูนตามปรกติ ซึ่งช่วยให้การระบายน้ำและความชื้นได้ดีกว่า เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นหรือชนิดของหินมีการดูดซึมความชื้นสูง วิธีนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงและการติดตั้งทำได้ยากกว่าความหนาของหินที่ใช้ต้องมากกว่า 2.5 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้ว เพื่อการยึดเพลทที่แข็งแรงด้วยครับ

                                                                                                                                ที่มา อ้างอิงโดย    คุณ ศุภชาติ บุญแต่ง 

Views: 251